การปรับปรุงพันธุ์พืชไร่
รหัสวิชา : MJUMOOC_0012
หมวดวิชา : เกษตรกรรม
จำนวนการลงทะเบียน : 2 ครั้ง
  ลงทะเบียน / เข้าเรียน
กลุ่มที่
2
เริ่มเรียน 28 พฤษภาคม 2568
ถึง 31 ธันวาคม 2568
รับลงทะเบียน
1,000
ว่าง
998
  เจ้าของรายวิชา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปัทมา  หาญนอก
ตำแหน่ง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์
คณะผลิตกรรมการเกษตร
  เกี่ยวกับรายวิชา

ผู้เรียนจะเข้าใจถึงหลักการปรับปรุงพันธุ์พืชไร่ชนิดที่เป็นพืชผสมตัวเองและพืชผสมข้าม ให้ทนทานต่อสภาพเครียดทั้งจากสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต รวมถึงการใช้ประโยชน์จากการมี hybrid vigor ในการปรับปรุงพันธุ์พืชลูกผสม เรียนรู้ความสําคัญและประโยชน์จาก Germplasm ที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรม รวมไปถึงการใช้เทคนิคในระดับโมเลกุลในกระบวนการคัดเลือก และตรวจสอบความบริสุทธิ์ของสายพันธุ์ นอกจากนี้ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ถึงหลักในการเลือกสายพันธุ์ในขั้นตอนการทดสอบสายพันธุ์เมื่อมีผลกระทบของปฏิสัมพันธ์ระหว่างจีโนไทป์และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนกระบวนการรับรองและขึ้นทะเบียนพืชสายพันธุ์ใหม่อีกด้วย

  เนื้อหา

หัวข้อวิชา การปรับปรุงพันธุ์พืชไร่ ประกอบด้วย

บทนำ บทบาทของการปรับปรุงพันธุ์พืชกับเกษตรยั่งยืน

บทที่ 1 ระบบการสืบพันธุ์ของพืช

บทที่ 2 ลักษณะทางพันธุกรรมของสายพันธุ์ปลูก

บทที่ 3 ความสำคัญของการเก็บรักษาพืชพันธุ์พื้นเมืองกับการปรับปรุงพันธุ์พืชสายพันธุ์ใหม่

บทที่ 4 การสร้างพันธุ์ OP

บทที่ 5 การใช้พันธุ์ OP เพื่อการเกษตรแบบยั่งยืน

บทที่ 6 วิธีการเก็บและรักษาเมล็ดพันธุ์พืชหลังการเพาะปลูก

  เกณฑ์การวัดและประเมินผล

ผู้เรียนเข้าเรียนตามหัวข้อเนื้อหาและต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ซึ่งเกณฑ์การประเมินผลมีดังนี้

1. ผู้เรียนต้องเข้าเรียน และทำแบบทดสอบท้ายบทเรียน(ถ้ามี) ตามเวลาที่กำหนด

2. มีความสำเร็จในการเข้าเรียนมากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 100 ของบทเรียนทั้งหมด

  วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการและแนวทางในการปรับปรุงพันธุ์พืชไร่ เพื่อเพิ่มความทนทานต่อสภาพแวดล้อม

2. ผู้เรียนจะได้เรียนรู้การประยุกต์ใช้เทคนิคต่างๆ และเข้าใจหลักการเลือกสายพันธุ์ได้อย่างเหมาะสม