นวัตกรรมปลาน้ำจืดสำหรับผู้ประกอบการ
รหัสวิชา : MJUMOOC_0016
หมวดวิชา : เกษตรกรรม
จำนวนการลงทะเบียน : 0 ครั้ง
  ลงทะเบียน / เข้าเรียน
กลุ่มที่
2
เริ่มเรียน 28 พฤษภาคม 2568
ถึง 31 ธันวาคม 2568
รับลงทะเบียน
1,000
ว่าง
1,000
  เจ้าของรายวิชา
ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์  เม่งอำพัน
ตำแหน่ง : ศาสตราจารย์
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
  เกี่ยวกับรายวิชา

อุตสาหกรรมการเลี้ยงปลาน้ำจืดในประเทศไทยมีการขยายตัวสูงขึ้น เพราะคนส่วนใหญ่หันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพ เน้นการบริโภคผักและสัตว์ที่มีไขมันน้อย โดยเฉพาะ ปลา กันมากขึ้น บทเรียนนี้จะให้ความรู้ทุกท่านตั้งแต่เริ่มต้นเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงปลามือใหม่ ไปจนกระทั่งเป็นผู้ประกอบการแปรรูปปลาที่ประสบความสำเร็จได้

  เนื้อหา

หัวข้อวิชา นวัตกรรมปลาน้ำจืดสำหรับผู้ประกอบการ ประกอบด้วย

บทที่ 1 แนะนำเนื้อหารายวิชา

บทที่ 2 ความสำคัญของปลาน้ำจืด

บทที่ 3 การคัดเลือกสายพันธุ์ปลา และหลักการผลิตปลาเพื่อสร้างผู้ประกอบการ

บทที่ 4 ปัจจัยพื้นฐานการผลิตปลาน้ำจืด

บทที่ 5 ประเภทของผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มคุณค่าและมูลค่าปลา

บทที่ 6 การตลาดและการเป็นผู้ประกอบการ

  เกณฑ์การวัดและประเมินผล

ผู้เรียนเข้าเรียนตามหัวข้อเนื้อหาและต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ซึ่งเกณฑ์การประเมินผลมีดังนี้

1. ผู้เรียนต้องเข้าเรียน และทำแบบทดสอบท้ายบทเรียน(ถ้ามี) ตามเวลาที่กำหนด

2. มีความสำเร็จในการเข้าเรียนมากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 100 ของบทเรียนทั้งหมด

3. ผู้เรียนต้องทำแบบทดสอบหลังเรียน (Post-Test) โดยต้องทำคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 50 ขึ้นไปของคะแนนเต็ม จึงจะถือว่าผ่านการทดสอบ โดยมีเงื่อนไขการทำแบบทดสอบดังนี้

1 ) จำนวนครั้งในการทำแบบทดสอบ : 2 ครั้ง

2 ) ระยะเวลาที่ใช้ทำแบบทดสอบ : 30 นาที

3 ) แบบทดสอบมีข้อคำถามทั้งหมด : 10 ข้อ

4 ) แบบทดสอบมีคะแนนเต็มทั้งหมด : 10 คะแนน

  วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวโน้มและบทบาทของอุตสาหกรรมการเลี้ยงปลาน้ำจืดในบริบทของเศรษฐกิจและสังคมไทย

2. เพื่อพัฒนาทักษะและความสามารถในการเลี้ยงปลาน้ำจืดตั้งแต่ระดับเริ่มต้น ตลอดจนสามารถวางแผนและบริหารจัดการฟาร์มเลี้ยงปลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ