ภาษาล้านนานั้นมีอายุกว่า 700 ปี แต่ปัจจุบันนี้มีวรรณกรรม บันทึกทางประวัติศาสตร์ล้านนาจำนวนมากที่มีสภาพเสื่อมลงและกำลังจะสูญหายไป ทั้งตำรับยา โหราศาสตร์ บันทึกประวัติศาสตร์ต่างๆ ที่บันทึกบางอย่างก็เสื่อมสภาพลงตามกาลเวลา และอีกไม่นานนี้บันทึกเหล่านี้ก็อาจจะสูญหายไปในที่สุด ในบทเรียนี้จะสอนตั้งแต่การอ่านตัวอักษร วรรณยุกต์ การเขียน การผสมคำ เรียกว่าเมื่อเรียนจบ การันตีได้เลยว่าจะสามารถอ่านภาษาล้านนาได้ไม่มากก็น้อย เรื่องของภาษาล้านนา ไม่ใช่เป็นเรื่องของคนแก่เท่านั้น คนรุ่นใหม่ก็ควรรู้ภาษาล้านนาอย่างยิ่ง เพื่อสืบทอดภาษาที่อยู่คู่กับเรามายาวนานให้อยู่ต่อไป
หัวข้อวิชา ภาษาล้านนาเบื้องต้น ประกอบด้วย
บทที่ 1 ภาษาล้านนาและอักษรธรรมล้านนา
บทที่ 2 พยัญชนะในภาษาล้านนา
บทที่ 3 สระในภาษาล้านนา
บทที่ 4 วรรณยุกต์ในภาษาล้านนา
บทที่ 5 เครื่องหมายพิเศษในภาษาล้านนา
บทที่ 6 ตัวเลขในภาษาล้านนา
บทที่ 7 การฝึกอ่านคำในภาษาล้านนา
บทที่ 8 การอ่านคำบาลีในภาษาล้านนา
บทที่ 9 การปริวรรตอักษรธรรมล้านนาเป็นอักษรไทยภาคกลาง
เอกสารประกอบการเรียนภาษาล้านนาเบื้องต้น
ผู้เรียนเข้าเรียนตามหัวข้อเนื้อหาและต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ซึ่งเกณฑ์การประเมินผลมีดังนี้
1. ผู้เรียนต้องเข้าเรียน และทำแบบทดสอบท้ายบทเรียน(ถ้ามี) ตามเวลาที่กำหนด
2. มีความสำเร็จในการเข้าเรียนมากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 100 ของบทเรียนทั้งหมด
1. เพื่อให้ผู้เรียน เกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับที่มา ความสำคัญ และบทบาทของภาษาล้านนาในบริบททางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของภาคเหนือ
2. เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานในการอ่าน ออกเสียง เขียน และผสมคำในอักษรล้านนาได้อย่างถูกต้องตามหลักภาษา
<div class="ratio ratio-16x9 bg-dark overflow-hidden"> ... โคดไฟล์สื่อของคุณ ... </div>