การออกแบบฉลากบนบรรจุภัณฑ์อาหารและสินค้าแปรรูปด้วยโปรแกรมโฟโตชอป
รหัสวิชา : MJUMOOC_004
จำนวนการลงทะเบียน : 52 ครั้ง
  ลงทะเบียน / เข้าเรียน
กลุ่มที่
2
เริ่มเรียน 25 เมษายน 2568
ถึง 31 ธันวาคม 2568
รับลงทะเบียน
100
ว่าง
49
  เจ้าของรายวิชา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นภาวรรณ  อาชาเพ็ชร
ตำแหน่ง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร
อาจารย์ วิชญา  โคตรฐิติธรรม
ตำแหน่ง : อาจารย์
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร
  เกี่ยวกับรายวิชา

ฉลากอาหารถือเป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารข้อมูลต่างของสินค้าให้ผู้บริโภคได้รับทราบ ซึ่งจะนำไปสู่การตัดสินใจซื้อ เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการทุกคนควรทำความเข้าใจและเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นบรรจุภัณฑ์เกี่ยวกับอาหาร

ในรายวิชานี้ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับมาตรฐานองค์ประกอบข้อมูลบนฉลากบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์อาหาร การสร้างการรับรู้ของแบรนด์ (brand awareness) ในลักษณะต่างๆ ตลอดจนกระบวนการคิดและออกแบบฉลากที่เหมาะสมกับสินค้า รวมไปถึงขั้นตอนของการออกแบบฉลากด้วยโปรแกรมโฟโตชอป ที่ประกอบไปด้วยหลักการจัดวางองค์ประกอบของภาพ การเลือกใช้สีที่ช่วยดึงดูดความสนใจ การจัดการข้อมูลมาตรฐานบนฉลาก จนถึงขั้นตอนของการนำภาพออกไปเพื่อผลิตงานพิมพ์ในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น Offset Printing หรือ Digital Printing ก็ตาม

  เนื้อหา

หัวข้อวิชา การออกแบบฉลากบนบรรจุภัณฑ์อาหารและสินค้าแปรรูปด้วยโปรแกรมโฟโตชอป ประกอบด้วย

บทที่ 1 นิยามและความสำคัญของฉลากอาหาร

บทที่ 2 ฉลากอาหารกับการสร้างแบรนด์

บทที่ 3 การสรุปทิศทางงานออกแบบก่อนการออกแบบ

บทที่ 4 การจัดเตรียมองค์ประกอบและกำหนดขนาด และการจัดวางเบื้องต้น

บทที่ 5 แนะนำโปรแกรมโฟโตชอป

บทที่ 6 เรียนรู้พื้นฐานการตัดต่อภาพและการจัดวางภาพประกอบ

บทที่ 7 เรียนรู้ทักษะการปรับสีและการตกแต่งภาพ

บทที่ 8 เรียนรู้การจัดการข้อมูลมาตรฐานบนฉลากด้วยโปรแกรมอิลลาสเตรเตอร์

บทที่ 9 เรียนรู้การนำออกภาพเพื่อผลิตการพิมพ์

บทที่ 10 เรียนรู้ระบบงานพิมพ์ วัสดุงานพิมพ์ และต้นทุนการผลิต

บทสรุป

  เกณฑ์การวัดและประเมินผล

ผู้เรียนเข้าเรียนตามหัวข้อเนื้อหาและต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ซึ่งเกณฑ์การประเมินผลมีดังนี้

1. ผู้เรียนต้องเข้าเรียน และทำแบบทดสอบท้ายบทเรียน(ถ้ามี) ตามเวลาที่กำหนด

2. มีความสำเร็จในการเข้าเรียนมากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 100 ของบทเรียนทั้งหมด

3. ผู้เรียนต้องทำแบบทดสอบหลังเรียน (Post-Test) โดยต้องทำคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 80 ขึ้นไปของคะแนนเต็ม จึงจะถือว่าผ่านการทดสอบ โดยมีเงื่อนไขการทำแบบทดสอบดังนี้

1 ) จำนวนครั้งในการทำแบบทดสอบ : 1 ครั้ง

2 ) ระยะเวลาที่ใช้ทำแบบทดสอบ : 40 นาที

3 ) แบบทดสอบมีข้อคำถามทั้งหมด : 20 ข้อ

4 ) แบบทดสอบมีคะแนนเต็มทั้งหมด : 20 คะแนน

  วัตถุประสงค์

1. มีความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานองค์ประกอบข้อมูลบนฉลากบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์อาหาร

2. สามารถใช้งานโปรแกรมโฟโตชอปเพื่อออกแบบฉลากผลิตภัณฑ์ได้